องค์การบริหารส่วนตำบลหัวหว้า อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี
 
 
จำนวนผู้เข้าชม
จำนวน คน
ตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม 2564
 
วิสัยทัศน์ - พันธกิจ

วิสัยทัศน์ (Vision)

                          “การคมนาคมสะดวก เศรษฐกิจดี ภายใต้วิถีชีวิตแบบพอเพียง”

พันธกิจ (Mission)

                              1. พัฒนาระบบสาธารณูปโภคสาธารณูปการและโครงสร้างพื้นฐานให้ได้มาตรฐานและทั่วถึง

          2. พัฒนาด้านเกษตรกรรม  และบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ  รวมทั้งพัฒนาพื้นฐานปัจจัยด้านการเกษตร  เสริมสร้างเกษตรวิถีตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

3. ส่งเสริมพัฒนาคุณภาพการศึกษา ทำนุบำรุงศาสนา บำรุงรักษาศิลปะ โบราณสถาน จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีงาม

4. ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม

5. พัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตเด็ก คนชรา คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส หรือประชาชนให้ได้รับบริการสวัสดิการพื้นฐานต่าง ๆ อย่างทั่วถึงและมีความครอบคลุม

                              6. ส่งเสริมการพัฒนาด้านการเมืองและการบริหาร

          1.  ยุทธศาสตร์

                    ยุทธศาสตร์การพัฒนา 6 ด้าน

                              ยุทธศาสตร์ที่  1   ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

                              ยุทธศาสตร์ที่  2   ด้านเกษตรกรรม เศรษฐกิจและการบริหารจัดการน้ำ

                              ยุทธศาสตร์ที่  3   ด้านสังคม การศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

                              ยุทธศาสตร์ที่  4   ด้านพัฒนาสิ่งแวดล้อม

                              ยุทธศาสตร์ที่  5   ด้านสาธารณสุข

                              ยุทธศาสตร์ที่  6   ด้านการบริหารจัดการ

          2.  เป้าประสงค์

                    ยุทธศาสตร์ที่  1  ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

-        เพื่อพัฒนาตำบลให้มีระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ได้มาตรฐาน  และปลอดภัย

ยุทธศาสตร์ที่  2  ด้านเกษตรกรรม เศรษฐกิจและการบริหารจัดการน้ำ

-        เพื่อพัฒนาด้านเกษตรกรรม  และบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ

ยุทธศาสตร์ที่  3  ด้านสังคม การศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

-        เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในด้านการศึกษา  การอนุรักษ์วัฒนธรรมและบำรุงศาสนา

ยุทธศาสตร์ที่  4   ด้านพัฒนาสิ่งแวดล้อม

-        เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจ  ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติบนคุณภาพชีวิตที่ดีและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ยุทธศาสตร์ที่  5  ด้านสาธารณสุข

-        ส่งเสริมพัฒนาด้านคุณภาพชีวิต สังคมและสาธารณสุข และการสังคมสงเคราะห์

ยุทธศาสตร์ที่  6  ด้านการบริหารจัดการ

-        เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการที่ดีในองค์การบริหารส่วนตำบลหัวหว้า  โดยยึดหลักธรรมาภิบาล  และการมีส่วนร่วมของประชาชน

3.  ตัวชี้วัด

                    ยุทธศาสตร์ที่  1  ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

เชิงปริมาณ :  ร้อยละของงานด้านโครงสร้างพื้นฐานที่อยู่ในความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลหัวหว้า  ได้รับการพัฒนาเพิ่มขึ้น

เชิงคุณภาพ :  ความพึงพอใจของผู้ใช้เส้นทาง  หรือผู้ใช้แหล่งน้ำที่ได้รับการพัฒนา

ยุทธศาสตร์ที่  2  ด้านเกษตรกรรม เศรษฐกิจและการบริหารจัดการน้

เชิงปริมาณ :  ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของจำนวน  (จำนวนแปลง/ฟาร์ม/สถานประกอบการ)

เชิงคุณภาพ :  ระดับคุณภาพชีวิต  เศรษฐกิจของประชาชนมีหนี้ครัวเรือนที่ต่ำลง

ยุทธศาสตร์ที่  3  ด้านสังคม การศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

          เชิงปริมาณ :  ร้อยละของประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

          เชิงคุณภาพ :  ระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนได้รับสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานด้านคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ยุทธศาสตร์ที่  4   ด้านพัฒนาสิ่งแวดล้อม

เชิงปริมาณ :  จำนวนครั้งที่มีการจัดกิจกรรม  ร้อยละของกิจกรรมด้านการบริหารจัดการ         ทรัพยากรธรรมชาติที่เพิ่มขึ้น

เชิงคุณภาพ :  ระดับความสำเร็จในการส่งเสริมสนับสนุนของโครงการหรือกิจกรรม  ประชาชนให้ความสนใจในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

ยุทธศาสตร์ที่  5  ด้านสาธารณสุข

เชิงปริมาณ :  ร้อยละของประชาชนที่ได้รับการดูแลด้านสาธารณสุขเข้าร่วมกิจกรรม  มีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

เชิงคุณภาพ :  ประชาชนในตำบลหัวหว้าได้รับการบริการด้านสาธารณสุข  และมีสุขภาพที่ดีขึ้น (ค่าเฉลี่ยอายุสูงขึ้น/โรคน้อยลง)

ยุทธศาสตร์ที่  6  ด้านการบริหารจัดการ

                              เชิงปริมาณ :  ร้อยละความสำเร็จในการจัดกิจกรรม

                              เชิงคุณภาพ :  ความพึงพอใจของประชาชนและบุคลากรในหน่วยงาน

          4.  ค่าเป้าหมาย  

                    ยุทธศาสตร์ที่  1  ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

-    ร้อยละของงานด้านโครงสร้างพื้นฐานที่อยู่ในความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบล

หัวหว้าได้รับการพัฒนาเพิ่มขึ้น

-    ร้อยละของจำนวนแหล่งน้ำที่อยู่ในความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลหัวหว้าได้รับการพัฒนาเพิ่มขึ้น

ยุทธศาสตร์ที่  2  ด้านเกษตรกรรม เศรษฐกิจและการบริหารจัดการน้ำ

-        ร้อยละของพื้นที่ที่ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาแหล่งน้ำเพิ่มขึ้น

-        ร้อยละของประชาชนมีหนี้ครัวเรือนต่ำลง

-        ร้อยละของประชาชนมีจำนวนการขยาย (แปลง/ฟาร์ม/สถานประกอบการ)

ยุทธศาสตร์ที่  3  ด้านสังคม การศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

-        ร้อยละของประชาชนมีการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการเข้าถึงด้านการศึกษา

-        จำนวนกิจกรรมที่ส่งเสริมทำนุบำรุงศาสนา  ศิลปะ โบราณสถาน จารีตประเพณี

ภูมิปัญญาท้องถิ่น  และวัฒนธรรม

ยุทธศาสตร์ที่  4   ด้านพัฒนาสิ่งแวดล้อม

-        ร้อยละของผู้เข้าร่วมกิจกรรม  มีความรู้ความเข้าใจด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมมากขึ้น

-        ร้อยละของผู้เข้าร่วมกิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

ยุทธศาสตร์ที่  5  ด้านสาธารณสุข

-        ร้อยละของประชาชนได้รับการบริการด้านสาธารณสุขเพิ่มขึ้น

-        ร้อยละของประชาชนมีสุขภาพที่ดีขึ้น (ภาวะความเสี่ยงของโรคน้อยลง)

-        ร้อยละของประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ยุทธศาสตร์ที่  6  ด้านการบริหารจัดการ

-        ร้อยละของบุคลากร  ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถ

-        ร้อยละของจำนวนพัสดุที่จัดหาตามแผนงาน  หรือแผนการจัดซื้อจัดจ้าง

-        การเพิ่มขึ้นของประชาชนผู้ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง  หรือจำนวนกิจกรรมที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน

5. กลยุทธ์   

          ยุทธศาสตร์ที่  1  ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

-        ก่อสร้าง ปรับปรุง ซ่อมแซม บำรุงรักษาและพัฒนาเส้นทางคมนาคม สาธารณูปโภค สาธารณูปการให้ได้มาตรฐานและทั่วถึง

-        พัฒนาแหล่งน้ำ  คู  คลอง  เพื่อการอุปโภคบริโภคการเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม

ยุทธศาสตร์ที่  2  ด้านเกษตรกรรม เศรษฐกิจและการบริหารจัดการน้ำ

-        พัฒนาด้านเกษตรกรรม  และบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ

-        พัฒนาปัจจัยพื้นฐานการเกษตร

-        เสริมสร้างเกษตรวิถีตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  และความเข้มแข็งทางการเกษตรในชุมชน

ยุทธศาสตร์ที่  3  ด้านสังคม การศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

-        ส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  การศึกษาในระบบ  นอกระบบ  และการศึกษาตามอัธยาศัย

-        ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมด้านการกีฬาและนันทนาการ

-        ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมทางศาสนา  อนุรักษ์ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมประเพณี  และภูมิปัญญาท้องถ